วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

รายงานการศึกษาค้นคว้า
เรื่อง ตะไคร้กับอาหารไทย
     ศึกษาค้นคว้าโดย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4
 นาย ธิติคุณ กุลโชติ เลขที่ 2                 นางสาวธนัตดา  สุดชัย เลขที่ 18
            นายวราวุฒิ  เจริญสุข  เลขที่ 3                นางสาวเบญจมาศ  สังขวรรณ์  เลขที่ 26
              นาย พัชรพงศ์ กุลโชติ เลขที่ 6               นางสาวธีรดา เขื่อนแก้ว เลขที่ 19              นาย ธีรพล คำผุย เลขที่ 13                     นางสาว นิธินา นามะนี เลขที่ 26
              นางสาวปรินดา   ศรีวงษา เลขที่ 21         นางสาว กนกวรรณ์ พิมพ์ผการณ์ เลขที่ 36
      ที่ปรึกษา
คุณครูอนุสรณ์      ฤกษ์บางพลัด
เสนอ
   โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร
   อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ตามหลักสูตรโรงเรียนมาตรฐานสากล

ภาคเรียนที่ 2/2557
                                                                  
                                              


                                                                      คำนำ                                                                                                                    
             รายวิชาฉบับนี้เป็นหนึ่งของรายวิชาการศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้  เพื่อเป็นผู้ที่ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ จะศึกษาเกี่ยวกับ เรื่อง “ตะไคร้กับอาหารไทยซึ่งคณะจัดทำขึ้นเพื่อให้นักเรียน และสนใจอ่านเป็นเอกสารเพิ่มเติม ต่อไป                                                                                                                                         คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจเกี่ยวกับตะไคร้และอาหารไทยซึงทำให้ทราบถึงเนื้อหาหลักๆของประโยชน์ของตะไคร้และอาหารไทย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้วิเคราะห์ให้ผู้อ่านนำมาใช้ประโยชน์ได้ต่อไป หากมีข้อบกพร่องประการใด ผู้จัดทำขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย

                                                                                              คณะผู้จัดทำ
                                                                                       นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4
                                                                                                    2 ภาคเรียน 2557











                                                                                                                                                                 กิตติกรรมประกาศ
                  รายงานฉบับนี้สำเร็จและสมบรูณ์เป็นรูปเล่ม ด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างดีจากคุณครู อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด เป็นอย่างยิ่ง คุณครูประจำวิชา ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษาและแนะแนวทาง การดำเนินการทำรายงานในครั้งนี้โดยไม่มีข้อบกพร่อง รวมทั้งข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นต่างๆตลอดทั้งการตรวจแก้ไขรายงานฉบับนี้ให้สำเร็จสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทางคณะผู้จัดทำจึงขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้                                                                                                                                                                                                ขอขอบพระคุณคุณครูทุกท่านที่ได้ประสิทธิ์ประสารวิชา ความรู้ และประสบการณ์ตลอดจนอำนวยความสำเร็จให้บังเกิด                                                                                                                                                                                สุดท้ายนี้  ขอขอบคุณ คุณพ่อนพ ผู้ที่ให้ความรู้และเป็นกำลังใจ  และให้ความช่วยเหลือในการเก็บรวบรวมข้อมูลและให้คำแนะนำในการทำรายงานครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงด้วยดีตลอดมา

                                                                                                                                                                                                                                                                       คณะผู้จัดทำ                                                                                                              นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4                                                                                                                    2ภาคเรียน 2557









ชื่อเรื่อง         ตะไคร้กับอาหารไทย                                                                                                                                              
     ผู้ศึกษา           
                   1.นายธิติคุณ   กุลโชติ                                                                                 
                     2.นายวราวุฒิ  เจริญสุข                                                                                                                  3.นายพัชรพงศ์  กุลโชติ                                                                                                                4.นายธีรพล คำผุย                                                                                             
                    5.นางสาวธนัตดา  สุดชัย           
                    6.นางสาวธีรดา เขื่อนแก้ว        
                 7.นางสาวปรินดา   ศรีวงษา                            
                8..นางสาวนิธินา มามณี                                                                     
               9.นางสาวเบญจมาศ  สังขวรรณ์                                                
             10.นางสาวกนกวรรณพิมพกันต์
ครูที่ปรึกษา       คุณครู อนุสรณ์ ฤกษ์บางพลัด                                                                                                                               
  ชื่อวิชา                       การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้                                                                                       ชื่อโรงเรียน                     โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร ปีการศึกษาที่ศึกษาค้นคว้า  2557

บทคัดย่อ
                                  ศึกษาค้นคว้า เรื่อง ตะไคร้กับอาหารไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1.             เพื่อศึกษาประโยชน์ของตะไคร้
2.             เพื่อศึกว่าตะไคร้สามารถแก้โรคไข้หวัดได้จริงหรือไม่
3.             เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอันตรายของโรคไข้หวัด
4.             เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันโรคไข้หวัด
                           โดยศึกษาจากอินเตอร์เน็ต
ผลการศึกษาค้นคว้า ปรากฏว่า
1.             ประโยชน์ของตะไคร้มีดังนี้
1.1      ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากอาการแน่นจุกเสียดและท้องเสีย
1.2      ช่วยอาการแก้ปวดได้
1.3      ช่วยอาการขับลมได้
1.4      ช่วยแก้อาการจากการเป็นโรคไข้หวัดได้
2.                จาการศึกษาเรื่องตะไคร้แก้โรคไข้หวัด
3.                อันตรายจากโรคไข้หวัด
3.1      การติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากทางเดินหายใจ
3.2      ติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง จากอาการไอ จาม
3.3      เชื้อไวรัสอาจติดมากับมือของผู้ป่วย หรือไวรัสติดมากับผ้าเช็ดหน้าของผู้ป่วยหรือแก้วน้ำ ของเล่น  โทรศัพท์และเสมหะของผู้ป่วยได้
4.  การป้องกันจากโรคไข้หวัด
4.1      การรักษาไข่หวัดที่มีอาการแทรกซ้อน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา
4.2      ให้ดื่มน้ำบ่อยๆอยู่ในที่อุณหภูมิพอเหมาะ
4.3      ลดการใช้เสียงผักผ่อนให้เพียงพอ
4.4      ออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพที่แข็งแรงเป็นส่วนสำคัญในการกำจัดเซื้อไวรัสของร่างกาย








  











บทที่1
บทนำ
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ตะไคร้มีที่มาตะไคร้มีถิ่นกำเนิด ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้

ตะไคร้ (Lemongrass) ชื่อวิทยาศาสตร์ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (DC.) Staph ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรย,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)ขี้ไคร้ (อินดี้-สกา) เป็นพืชล้มลุกความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอมีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมากตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
ลักษณะโดยทั่วไป
โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
1.             ตะไคร้กอ
2.             ตะไคร้ต้น
3.             ตะไคร้หางนาค
4.             ตะไคร้น้ำ
5.             ตะไคร้หางสิงห์
6.             ตะไคร้หอม
เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตรลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหยที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป


วัตถุประสงค์ของปัญหา
1.เพื่อศึกษาประโยชน์ของตะไคร้
2.เพื่อศึกษาว่าตะไคร้สามารถแก้โรคหวัดได้จริงหรือไม่
3.เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอันตรายของโรคไข้หวัด
4.เพื่อศึกษาวิธีป้องกันโรคหวัด
สมมุติฐาน
ตะไคร้สามารถแก้โรคไข้หวัดได้จริง
ขอบเขตของปัญหา
       เนื้อหา
-ประวัติความเป็นมาตะไคร้
-ประโยชน์ของตะไคร้
-อันตรายจากโรคไข้หวัด
-วิธีป้องกันอันตรายจากโรคไข้หวัด
ระยะเวลา
1ภาคเรียนปีการศึกษา2557
ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
-ตัวแปรต้น คือ ตะไคร้มีสรรพคุณแก้โรคไข้หวัด
-ตัวแปรตาม คือ ลดอาการเกิดโรคไข้หวัด


นิยามศัพท์เฉพาะ
              ตะไคร้ มีถื่นกำเนิดใน ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย ตะไคร้ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Cymbopogoncitratus (DC.) Stapfส่วนชื่อตะไคร้ภาษาอังกฤษจะ ใช้คำว่า Lemongrass จัดเป็นพิชล้มลุก ใบเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นพืชตระกูลหญ้า
ตะไคร้จัดเป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาประกอบอาหาร โดยตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ซึ่งได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และตะไคร้หางสิงห์ ซึ่งเป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา
           โรคไข้หวัด เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจ (กลุ่มอาการไข้หวัดและปอดบวม) ที่พบบ่อยมากใน เด็ก ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุจมูกและคอ โรคนี้ไม่รุนแรง หายเองได้ แต่อาจมีโรคแทรกช้อนเป็น อันตรายได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ๆ อาจเป็นหวัดบ่อย ๆ แทบทุกเดือนเนื่องจากยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ในเด็กโตจะเป็น หวัดน้อยลง โรคหวัดเป็นกันมากในฤดูฝนและฤดูหนาว บางทีเป็นอาการนำของโรคอื่น เช่น หัด ไอกรนเป็นต้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงาน
1.ทราบถึงประโยชน์ของตะไคร้
2.ทราบถึงอันตรายของโรคไข้หวัด
3.ทราบถึงการป้องกันโรคไข้หวัด






บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
                                เอกสารที่ใช้การศึกษาค้นคว้า เรื่อง ตะไคร้หอมช่วยแก้หวัดมีหัวข้อและรายละเอียดดังนี้                 
1.ประวัติความเป็นมาของตะไคร้                                                                                                                                       
     2.ประโยชน์ของตะไคร้                                                                                                                                    3.อันตรายจากโรคไข้หวัด                                                                                                                             
    4.วิธีป้องกันอันตรายจากโรคไข้หวัด














1.ประวัติของตะไคร้
ตะไคร้ (Lemongrass) ชื่อวิทยาศาสตร์ Doragag Staph ชื่อท้องถิ่น จะไคร (ภาคเหนือ) ไคร (ภาคใต้) คาหอม (แม่ฮ่องสอน) เชิดเกรย,เหลอะเกรย(เขมร-สุรินทร์), ห่อวอตะโป่(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)ขี้ไคร้ (อินดี้-สกา) เป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วยนั้นเป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 4-6 ฟุต ใบยาวเรียว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาวมีดอกเล็กฝอยเป็นจำนวนมากลำต้นตรงสีเขียวอ่อน มีนวลขาว ประกอบด้วยกาบใบซ้อนเป็นชั้นๆ อัดแน่น ใบยาวเรียวแหลม และสาก ขอบใบเรียบและคม สากมือทั้งสองด้านลำต้นและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เป็นพืชที่ออกดอกยาก ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ ผลมีขนาดเล็ก
2.ประโยชน์ของตะไคร้
ประโยชน์ของตะไคร้ นำมาใช้ทำเป็นน้ำตะไคร้หอม น้ำตะไคร้ใบเตย ช่วยดับร้อนแก้กระหายได้เป็นอย่างดี ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและเพิ่มสมาธิ สามารถนำมาใช้ทำเป็นยานวดได้ ช่วยแก้ปัญหาผมแตกปลาย (ต้น) มีฤทธิ์เป็นยาช่วยในการนอนหลับ การปลูกตะไคร้ร่วมกับผักชนิดอื่นๆจะช่วยป้องกันแมลงได้เป็นยังดี เพราะ นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสารระงับกลิ่นต่างๆ ต้นตะไคร้ช่วยดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นคาวของปลาได้เป็นอย่างดี กลิ่นหอมของตะไคร้สามารถช่วยไล่ยุงและกำจัดยุงได้เป็นอย่างดี เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่างๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น เครื่องปรุง
อบแห้ง ตะไคร้แห้งสำหรับชงดื่ม นำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น มักนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ต้มยำ และอาหารไทยอื่นๆเพื่อเพิ่มรสชาติ
วิธีใช้  ตะไคร้เป็นยารักษาอาการต่างๆดังนี้
อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียดใช้ลำต้นแก่สดๆทุบพบแหลกประมาณ 1 กำมือต้มน้ำดื่มหรือประกอบเป็นอาหารอาการขับเบา ผู้ที่ปัสสาวะขัด ไม่คล่อง (แต่ต้องไม่มีอาการบวม)ใช้ตะไร้แก่สดต้มดื่มวันละ 3 ครั้งๆ ละ 1 ถ้วยชาก่อนอาหารหรือใช้เหง้าแก่ที่อยู่ใต้ดินหั่นฝานเป็นแว่นบางๆคั่วไฟอ่อนๆพอเหลืองชงเป็นยาดื่มวันละ 3 ครั้งๆละ 1 ถ้วยชาแก้หวัด ใช้ตะไคร้ 1 ต้นหั่นเป็นแว่นๆและขิงสด 5-6 แว่นใส่น้ำ 3-4 แก้วต้มจนเดือดทิ้งไว้ให้อุ่นดื่มครั้งละ 1/2-1 แก้ว วันละ3 เวลาหลังอาหาร
1.  ชื่อสมุนไพร           ตะไคร้
          ชื่อวิทยาศาสตร์Cymbopogoncitratus (De ex Nees) Stapf.
          ชื่อวงศ์           Poaceae (Gramineae)  
          ชื่อพ้อง           ไม่มี
          ชื่ออังกฤษ        Lapine, Lemon grass, West Indian lemongrass
          ชื่อท้องถิ่น        คาหอม, ไคร, จะไคร, เชิดเกรย, หัวสิงไค, เหลอะเกรย

2. ลักษณะพันธุ์ไม้
ไม้ล้มลุก อายุหลายปี ขึ้นเป็นกอใหญ่ ลำต้นรูปทรงกระบอก แข็ง เกลี้ยง เหง้าใต้ดินมีกลิ่นเฉพาะ ใบรูปขอบขนานแคบ สีขาวนวลหรือขาวปนม่วง แผ่นใบสากและคม ดอกออกยาก เป็นช่อกระจาย สีน้ำตาลแดง แทงออกจากลำต้น ช่อดอกย่อยมีก้านออกเป็นคู่ๆ ดอกหนึ่งมีก้าน อีกดอกไม่มีก้าน ดอกย่อยนี้ยังประกอบด้วยดอกเล็กๆ 2 ดอก ดอกล่างลดรูปเป็นเพียงกลีบเดียวโปร่งแสง ดอกบนสมบูรณ์เพศ มีใบประดับ 2 ใบผลเป็นผลแห้ง ไม่แตก

3. ส่วนที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณ
          -ทั้งต้น            รักษาอาการแน่นจุกเสียด

4. สารสำคัญที่ออกฤทธิ์
น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ คือ menthol, cineole, camphor และ linalool จึงลดอาการแน่นจุกเสียด  และช่วยขับลม  นอกจากนี้มีcitral, citronellol, geraneolและ cineole มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียได้แก่ E. coli  

5. ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
          5.1   ฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้
                 สารเคมีในน้ำมันหอมระเหยของตะไคร้ช่วยขับลม น้ำมันหอมระเหยของตะไคร้จึงลดอาการแน่นจุกเสียดได้  
          5.2   ฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุอาการแน่นจุกเสียดและท้องเสีย
                 เมื่อนำน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ (ความเข้มข้นร้อยละ 0.3) มาทดสอบ พบว่าสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ปานกลาง   มีการพัฒนาสูตรตำรับเจล ล้างมือจากน้ำมันตะไคร้สำหรับยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย พบว่าตำรับที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวได้ดีที่สุด คือ ตำรับที่มีความเข้มข้นของน้ำมันตะไคร้ร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก และมีการจดสิทธิบัตรสำหรับสารสกัดตะไคร้ที่เป็นส่วนผสมในยา อาหาร หรือเครื่องสำอาง โดยระบุว่าสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียE. coliได้
          5.3   ฤทธิ์ต้านเชื้อรา
       สารสกัดด้วยเอทานอล และน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง เช่น กลาก เกลื้อน ได้  โดยน้ำมันตะไคร้ที่มีสารcitralและmyrceneเป็นส่วนประกอบหลักจะมีฤทธ์ยับยั้งเชื้อราดังกล่าว และเมื่อนำน้ำมันตะไคร้ไปพัฒนาเป็นครีมต้านเชื้อราพบว่าที่ความเข้มข้นร้อยละ 2.5 และ 3.0 จะให้ผลต้านเชื้อราได้ดีที่สุดและเหมาะที่จะพัฒนาเป็นตำรับยาต่อไป
       เมื่อนำน้ำมันหอมระเหย และสารสกัดด้วยเฮกเซน, คลอโรฟอร์ม, เอทานอล และน้ำ มาทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อรา พบว่าน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดตะไคร้ด้วยเฮกเซนสามารถต้านเชื้อราได้ทุกชนิด  ส่วนสารสกัดด้วยคลอโรฟอร์มมีฤทธิ์ต้านเชื้อราได้น้อยในขณะที่สารสกัดด้วยเอทานอลและน้ำไม่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และจากผลการทดลองยังพบว่าสารประกอบหลักในน้ำมันหอมระเหย และในสารสกัดด้วยเฮกเซนที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อราได้ดี คือ สารcitral
       มีการจดสิทธิบัตรผลิตภัณฑ์ตะไคร้ในรูปของ emulsion และnanocapsuleที่ประกอบด้วยน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ใช้สำหรับรักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราE.  floccosum, Microsporumcanisและ  T.  rubrumโดยไปยับยั้งการเจริญเติบโตหรือฆ่าเซลล์ของเชื้อราดังกล่าว
          5.4   ฤทธิ์ต้านยีสต์
       สารสกัดด้วยเอทานอล และน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้สามารถต้านยีสต์Candida albicansได้
          5.5   ฤทธิ์แก้ปวด
       พบว่าน้ำมันหอมระเหยสามารถบรรเทาอาการปวดได้เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องหนูเม้าส์ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดความเจ็บปวดด้วยความร้อน  หรือหากป้อนน้ำมันหอมระเหยในขนาดเท่าเดิมทางปากจะสามารถบรรเทาอาการปวดได้เมื่อเทียบกับยาmeperidine  
  ชาชงตะไคร้ เมื่อป้อนให้หนูเม้าส์กินเป็นเวลา 30 นาที ก่อนที่จะเหนี่ยวนำหนูให้ปวดอุ้งเท้าด้วยสารคาราจีแนน100 ไมโครกรัม/อุ้งเท้า  หรือด้วยสาร prostaglandin E2  และdibutyryl cyclic AMP พบว่าสามารถยับยั้งอาการปวดจากการที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยสารคาราจีแนน และ prostaglandin E2 ได้  แต่ไม่ได้ผลหากเหนี่ยวนำให้ปวดด้วยdibutyryl cyclic AMP  นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยตะไคร้  และสารmyrceneเมื่อป้อนให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดอาการปวดด้วย prostaglandin E2  พบว่าสามารถยับยั้งอาการปวดได้
          5.6   ฤทธิ์ขับน้ำดี
       ตะไคร้มีสารช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยย่อย คือborneol, fenchoneและ cineole
          5.7   ฤทธิ์ขับลม
       ยาชงตะไคร้เมื่อให้รับประทานไม่มีผลขับลม แต่ถ้าให้โดยฉีดทางช่องท้องจะให้ผลดี

6.  อาการข้างเคียง
          ยังไม่มีรายงาน

7. ความเป็นพิษทั่วไป
          7.1   การทดสอบความเป็นพิษ
       มีผู้ทดสอบพิษของชาที่เตรียมจากตะไคร้พบว่าเมื่อให้อาสาสมัครสุขภาพดีรับประทานชาตะไคร้ 1 ครั้ง หรือรับประทานวันละครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในเลือด เม็ดเลือดและปัสสาวะ มีบางรายเท่านั้นที่มีปริมาณบิลลิรูบิน และ amylase สูงขึ้น จึงนับว่าปลอดภัย น้ำมันตะไคร้เมื่อผสมในน้ำหอม โดยผสมน้ำมันตะไคร้ร้อยละ 0.8 พบว่ามีอาการแพ้ อย่างไรก็ตามการแพ้นี้อาจเกิดจากสารอื่นได้ และมีรายงานความเป็นพิษต่อถุงลมปอดเมื่อสูดดมน้ำมันตะไคร้
                 เมื่อให้น้ำมันหอมระเหยตรงเข้าทางกระเพาะอาหารกระต่าย พบว่ามีพิษเล็กน้อย ส่วนพิษในหนูแรทไม่ชัดเจน และเมื่อป้อนสารสกัดใบด้วยแอลกอฮอล์และน้ำในอัตราส่วน 1:1 เข้ากระเพาะอาหารหนูเม้าส์ พบว่ามีพิษ   แต่สารสกัดใบด้วยน้ำเมื่อให้ทางปากกลับไม่พบพิษ  ไม่เป็นพิษต่อตัวอ่อน และไม่มีผลต่อน้ำหนักตัวของหนูแรท การป้อนยาชงตะไคร้ให้หนูแรทในขนาด 20 เท่าของขนาดที่ใช้ในคนเป็นเวลานาน 2 เดือน ก็ไม่พบความเป็นพิษ สำหรับการศึกษาพิษเฉียบพลันของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ พบว่าหนูแรทกลุ่มที่ได้ตะไคร้จะโตเร็วกว่ากลุ่มควบคุม แต่ค่าเคมีในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง 

8. วิธีการใช้ตะไคร้รักษาอาการแน่นจุกเสียด
8.1   การใช้ตะไคร้รักษาอาการแน่นจุกเสียด ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)
          1.     นำตะไคร้ทั้งต้นรวมทั้งรากจำนวน 5 ต้น สับเป็นท่อน ต้มกับเกลือเติมน้ำต้ม 3 ส่วน ให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว ติดต่อกัน 3 วัน จะหายปวดท้อง
          2.     นำลำต้นแก่สดๆทุบพอแหลกประมาณ 1 กำมือ (40-60 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม  
8.2   ยาจากสมุนไพรในบัญชียาหลักแห่งชาติ
                            ไม่มี



สรรพคุณ :
ทั้งต้นใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้องขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหารและขับเหงื่อหัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการแก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้นและแก้ลมใบ
ใบสด ๆจะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
รากใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือปวดท้องและท้องเสีย

ต้นใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตกแก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญแต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองในและนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย
มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อแน่นจุกเสียด นำเอาตะไคร้ที่มีลำต้นแก่ และสด ๆ มา ประมาณ 1 กำมือทุบให้แหลกพอดีแล้วนำไปต้มน้ำดื่มหรืออีกวิธีหนึ่งเอาตะไคร้ทั้งต้นรากด้วยมาสัก 5 ต้นแล้วสับเป็นท่อนต้นกับเกลือ จากน้ำ 3 ส่วนให้เหลือเพียง 1 ส่วนแล้วทานสัก 3 วันๆละ 1 ถ้วยแก้วก็จะหาย
สารสำคัญที่พบ
พบน้ำมันหอมระเหย (Volatile oil) ในเหง้าและกาบใบซึ่งประกอบด้วยสารซิทราล (Citral) ยูจีนอล (Eugenol) เจอรานิออล (Geraniol) ซิโทรเนลลอล (Citronellol) เมอร์ซีน (Myrcene) การบูร (Camphor) เป็นต้น
ข้อมูลทางคลีนิค :
1.             ภายในน้ำมันหอมระเหยนั้นจะมีสารเคมีพวก citral, citronella และ geraneolซึ่งจะมีฤทธิ์สามารถยับยั้ง

2. เมื่อเอากระดาษที่ใช้ห่ออาหารทาด้วยอิมัลชั่นของน้ำมันตะไคร้ ซึ่งค้นพบได้ว่าสามารถป้องกันสุนัข และแมวได้ดีอยู่ได้นาน 7-10 วัน

3. น้ำมันหอมระเหยนี้จะมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดโรคพืชหลายชนิดในหลอดทดลอง
2.             ข้อมูลทางเภสัชวิทยา:
ใบและต้นแห้งนั้นจะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ส่วนปลายของสัตว์ที่ตัดแยกจากลำตัว เช่น กระต่ายส่วนรากแห้งจะนำมาสกัดด้วยน้ำร้อนขนาด 2.5 ก./ก.ก. ซึ่งผลออกมาแล้วจะไม่มีผลในการลดน้ำตาลในเลือดของกระต่ายเลยและถ้านำทั้งต้นมาสกัดจากแอลกอฮอล์อยู่ 95% จะมีฤทธิ์ขับพยาธิไส้เดือน โดยทำให้เกิดเป็นอัมพาตภายใน 24ชม.แต่พยาธินั้นจะไม่ตายเลย

สารเคมีที่พบ :
ในใบมีสารพวก Citral, Methylheptenone, Eugenol, Iso-orientin, Methylheptenol, Furfural, Luteolin,Phenolic substance, Cymbopogonol, Cymbopogone, Citral A, Citral B, Essential oil, Waxes, Nerol, Myrcene,l-Menthol, Linalool, Geraniol, Dipentene, d-Citronellic acid, Cymbopol, 1,4-Cineolie

อื่น ๆ

น้ำมันระเหยภายในต้นนั้น จะมีปริมาณสูงขึ้นเมื่อดินมีความชื้นสูงและพบว่าการคลุมดินกันน้ำระเหยจะทำให้ได้น้ำมันหอมระเหยสูงเช่นกันซึ่งการใส่ปุ๋ยนั้นมีผลน้อยกว่า และถ้าใส่ปุ๋ยสูงเกินไปกลับจะทำให้ citralลดลงและอุณหภูมิก็มีส่วนเช่นกันถ้าอุณหภูมิต่ำปริมาณน้ำมันก็ลดลง

การปลูกและขยายพันธุ์

ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วิธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถางๆละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จะนำมาหั่นเป็นฝอยๆ ตากลมไว้ให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม ต้องล้างและปลูกใหม่ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นการแตกหน่อทำให้การปลูกและการขยายพันธ์ได้ง่าย

ลักษณะโดยทั่วไป

โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่
1.             ตะไคร้กอ
2.             ตะไคร้ต้น
3.             ตะไคร้หางนาค
4.             ตะไคร้น้ำ
5.             ตะไคร้หางสิงห์
6.             ตะไคร้หอม
เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป
3.อันตรายจากโรคไข้หวัด
โรคหวัดเป็นโรคของทางเดินหายใจส่วนบน
อาการของโรคหวัดเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับภูมิคุ้มกันสนองต่อไวรัสเป็นหลัก กลไกการตอบสนองของภูมิคุ้มกันนี้จำเพาะต่อไวรัส ตัวอย่างเช่น ไรโนไวรัสติดต่อผ่านการสัมผัส ตัวเชื้อจะจับกับ ICAM-1 รีเซพเตอร์ของผู้ป่วย (ผ่านกลไกที่ยังไม่ทราบแน่ชัด) แล้วกระตุ้นการปลดปล่อยสารตัวกลางการอักเสบ (inflammatory mediators) จากนั้น สารตัวกลางการอักเสบเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการ โดยตัวไวรัสมิได้ก่อความเสียหายแก่เยื่อบุจมูกแต่อย่างใด ตรงข้ามกับไวรัสเรสไพราทอรีซินไซเตียล (RSV) ซึ่งติดต่อทั้งผ่านการสัมผัสโดยตรงและละอองจากอากาศ ไวรัสจะแบ่งตัวในจมูกและลำคอก่อนจะแพร่กระจายลงสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง[ และทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงต่อเซลล์เยื่อบุไวรัสพาราอินฟลูเอนซาส่งผลให้เกิดการอักเสบในจมูก ลำคอและหลอดลมหากเด็กเล็กติดเชื้อเกิดท่อลม (trachea) อักเสบอาจทำให้เกิดอาการของโรคกล่องเสียงอักเสบอุดกั้น (croup) ได้ เพราะทางเดินหายใจมีขนาดเล็ก
4.วิธีป้องกันอัตรายจากโรคไข้หวัด
โพสโดย Fon เมื่อ 1 มิถุนายน 2528 00:00

วิธีรักษาไข้หวัดแบบประหยัด
ระยะย่างเข้าหน้าฝนนี้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างถูกไข้หวัดเล่นงานกันงอมแงม โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านที่มีลูกหลานเล็กๆ ที่เพิ่งเข้าเรียนหนังสือในปีแรก อาจรู้สึกเดือดร้อนที่เด็กน้อยเป็นไข้หวัดแทบไม่เว้นแต่ละเดือน ต้องขาดเรียนอยู่เรื่อยๆ และเสียเงินค่ายาค่าหมอทีละไม่น้อย
เคยมีผู้อ่านซึ่งเป็นคนในโรงงานเขียนจดหมายมาเล่าให้ฟังว่า มีลูกเป็นไข้หวัดบ่อย แต่ก่อนต้องพาไปหาหมอ เสียค่ารักษาแต่ละครั้งประมาณ 70-80 บาท ต่อมาเมื่อได้เรียนรู้วิธีรักษาโรคไข้หวัดจาก หมอชาวบ้าน จึงได้นำความรู้ไปรักษาลูกของตัวเองเวลาเป็นหวัด เสียค่ายา (ซื้อตามคำแนะนำในนิตยสาร) ครั้งละ 15-20 บาทเป็นอย่างมาก ซึ่งไปทุ่นเงินไปได้หลายสตางค์
ครั้งนี้จึงขอถือโอกาสแนะนำวิธีการรักษาไข้หวัดด้วยตนเองอีกครั้งหนึ่ง ดีไหมครับ
ข้อน่ารู้เกี่ยวกับไข้หวัด
1) ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น (ได้แก่ จมูกและคอ) ติดต่อกันได้ง่ายด้วยการอยู่ใกล้ชิดกัน รับเชื้อจากละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอ จามหรือหายใจรด
2) เชื้อโรคที่ทำให้เป็นไข้หวัด (เรียกว่า เชื้อหวัด) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งแบ่งเป็นพันธุ์ย่อยๆ ออกไปร่วม 200 ชนิด ในการเป็นไข้หวัดแต่ละครั้งจะเกิดจากเชื้อหวัดเพียงหนึ่งชนิด เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัด เฉพาะชนิดนั้นเพียงชนิดเดียว เมื่อติดเชื้อหวัดอีกชนิดหนึ่ง วนเวียนไปเรื่อยๆ ดังนั้นคนเราจึงเป็นไข้หวัดได้บ่อย (หรือจนกว่าจะเวียนไปครบทุกชนิด)
3) เด็กเล็กจะมีภูมอต้านทานต่อเชื้อหวัดน้อยกว่าผู้ใหญ่ (เพราะผู้ใหญ่เคยรับเชื้อมาอย่างโชกโชนตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก) ดังนั้น จึงมีโอกาสเป็นไข้หวัดได้บ่อย และมักจะมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่เพิ่งเข้าโรงเรียนใน 1-2 ปีแรก จะรับเชื้อหวัดจากเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ซึ่งพกเอาเชื้อหวัดรดกันคนละพันธุ์สองพันธุ์มาแจกจ่ายกันจนถ้วนหน้า เมื่ออายุมากขึ้นคนเราจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อหวัดมากขึ้น จึงเป็นไข้หวัดห่างขึ้น และอาการจะรุนแรงน้อยลง
4) ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันไข้หวัดอย่างได้ผลเต็มที่ เพราะคนที่มีเชื้อหวัดในจมูกและคอ จะเริ่มแพร่โรคให้คนข้างเคียง ตั้งแต่ก่อนจะมีอาการตัวร้อนหรือเป็นหวัด ดังนั้นจึงบอกไม่ได้ว่าใครบ้างที่จะเป็นคนแพร่เชื้อ (ยกเว้นเมื่อเขามีอาการแสดงชัดเจนแล้วเท่านั้น) ซึ่งควรจะหลีกหนีจากเขา อย่าให้ถูกเขา ไอ จาม หรือหายใจรดใส่
โดยทั่วไป เรามักจะแนะนำว่าในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดไม่ควรเข้าไปในสถานที่ๆ มีผู้คนแออัด เช่น โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ส่วนคนที่เป็นหวัด เวลาไอหรือจาม ควรปิดปากอย่าให้เชื้อแพร่ออกไป และควรอยู่ให้ไกลจากผู้อื่น อย่านอนรวมกับผู้อื่น
ส่วนเด็กเล็ก มักมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย เพราะธรรมชาติของเด็กคือการจับกลุ่มเล่นหัวคลุกคลีกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ห้ามได้ยาก
5) เนื่องจากไข้หวัดเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ฆ่าเชื้อกลุ่มนี้อย่างได้ผล จึงอาจกล่าวได้ว่ายังไม่มียาที่ใช้รักษาไข้หวัดโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่นๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด อีสุกอีใส คางทูม ไข้เลือดออก ตับอักเสบจากเชื้อไวรัส (ไวรัสลงตับ) เป็นต้น
การรักษาไข้หวัดและกลุ่มโรคที่เกิดจากไวรัส จึงอยู่ที่การพักผ่อน กินอาหารที่มีประโยชน์ (ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค) และให้ยารักษาไปตามอาการเท่านั้น
รู้ได้อย่างไรว่าไม่ได้เป็นอื่น?
อาการของไข้หวัด ได้แก่ ตัวร้อน (ไข้) เป็นหวัด (คัดจมูกน้ำมูกไหล) และไอ
อาจมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหารร่วมด้วย ส่วนใหญ่อาการมักไม่รุนแรงจนต้องล้มหมอนนอนเสื่อ ยังวิ่งหรือทำงานได้ ถึงแม้จะไม่เหมือนเดิมก็ตาม มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นอาจมีไข้สูงและต้องนอนพักผ่อนเป็นครั้งคราว แต่เมื่อกินยาลดไข้แล้ว อาการมักจะดีขึ้นจนสามารถวิ่งเล่นหรือทำงานได้
แน่ละ มีโรคอีกหลายชนิดที่อาจมีอาการคล้ายไข้หวัดได้
ในที่นี้ขอแนะนำวิธีสังเกตดูอาการต่างๆ เพื่อแยกไข้หวัดออกจากโรคอื่นๆ ดังนี้
1) ถ้ามีไข้สูงเพียงอย่างเดียวโดยไม่มีน้ำมูกไหล และจับไข้ตลอดทั้งคืน ทั้งวัน หน้าแด งตาแดง กินยาลดไข้ก็ไม่ได้ผล อาจเป็นไข้เลือดออก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพบในช่วงหน้าฝน) ควรดื่มน้ำให้มากๆ ทุกวัน นอนพักผ่อนให้เต็มที่ ห้ามกินยาลดไข้ ประเภทแอสไพริน (เช่น ยาแก้ไข้ชนิดซอง ซึ่งมีอยู่มากมายหลายยี่ห้อ) เพราะถ้าเป็นไข้เลือดออกจริง อาจทำให้มีเลือดออกได้ง่ายขึ้น ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ เพื่อลดไข้ ยาแก้ไข้ถ้าจำเป็นให้เลือกใช้พาราเซตามอล
ทางที่ดีควรปรึกษาหมอที่อยู่ใกล้บ้าน ภายใน 1-2 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นอาการร้ายแรง
2) ถ้ามีอาการเจ็บคอมาก ควรอ้าปากใช้ไฟฉายส่องดูคอ ถ้าพบว่าต่อมทอนซิลโตแดง หรือเป็นหนองแสดงว่าต่อมทอนซิลอักเสบ ควรไปหาหมอ หมอจะให้ยาลดไข้และยาปฏิชีวนะ เช่น เพนวี (ผู้ใหญ่ใช้ชนิด 4 แสนยูนิต เด็กใช้ชนิด 2 แสนยูนิต) กินวันละ 4 ครั้งๆ ละ 1 เม็ด ก่อนอาหาร สักครึ่งชั่วโมง และก่อนนอน ถ้าแพ้ยานี้ หมอจะให้อีริโทรมัยซินแทน ผู้ใหญ่ครั้งละ 2 แคปซูล เด็กครั้งละ 1 แคปซูลหรือ 1-2 ช้อนชา วันละ 4 ครั้งเช่นเดียวกัน ควรกินยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 10 วัน เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ไข้รูมาติกหรือไตอับเสบ
3) ถ้ามีอาการหอบ หายใจลำบาก หรือเจ็บหน้าอกมาก อาจเป็นปอดอักเสบ ควรไปหาหมอโดยเร็ว ถ้าเป็นมากอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล หากชักช้าอาจเป็นอันตรายถึงตายได้
4) ถ้ามีอาการปวดในหู หูอื้อ หรือหูน้ำหนวกไหล อาจเป็นหูอักเสบแทรกซ้อน ควรไปหาหมอ หมอจะให้ยาลดไข้ ยาปฏิชีวนะ (เพนวี หรือ อีริโทรมัยซิน) และยาแก้หวัด ควรกลับไปให้หมอตรวจซ้ำให้แน่ใจว่าไม่ได้กลายเป็นหูน้ำหนวกเรื้อรังต่อไป
5) ถ้ามีผื่นขึ้นตามตัว หลังมีอาการคล้ายไข้หวัด 3-4 วัน แต่ไข้สูงตลอดเวลา กินยาลดไข้ไม่ได้ผล หน้าแดง ตาแดง อาจเป็นหัด ควรให้ยารักษาแบบไข้หวัด เพราะเป็นโรคในกลุ่มไวรัสเช่นเดียวกัน
6) ถ้ามีอาการแบบไข้หวัด แต่มีไข้สูงและปวดเมื่อยตามตัวมาก อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ อาการมักจะรุนแรงจนต้องนอนซมเป็นพักๆ โรคนี้เกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ซึ่งเป็นไวรัส การรักษาก็ให้การดูแลรักษาไปตามอาการแบบเดียวกับไข้หวัดธรรมดา เมื่อได้พักผ่อนและกินยาลดไข้ อาการควรจะดีขึ้นภายใน 3-4 วัน ถ้ายังมีไข้สูงติดต่อกันมากกว่า 7 วัน หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ซีด เหลือง หอบ ชัก มีจ้ำเขียวขึ้นตามตัว อาเจียนมาก ปวดท้องมาก ปวดศีรษะรุนแรง ควรไปหาหมอโดยเร็ว
การรักษา
การรักษาไข้หวัดที่ไม่มีอาการแทรกซ้อน  ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา  เนื่องจากเป็นการติดเชื้อไวรัสซึ่งไม่มียาฆ่าเชื้อโดยตรง  แต่สามารถให้ยาบรรเทาอาการหวัดได้  ได้แก่  ยาลดน้ำมูก  ยาแก้ไอ  และยาลดไข้
ยาลดน้ำมูก ได้แก่  Antihistamines  และ  Nasal decongestants   (ยาลดอาการบวมของเยื่อบุ)  เมื่อน้ำมูกแห้งแล้วควรหยุดกินยา
เด็กเล็กที่มีน้ำมูกมาก  จมูกตัน  ดูดนมไม่ได้  สามารถช่วยลดอาการได้  โดยใช้กระดาษนุ่ม ๆ หรือผ้าชุบน้ำม้วนเป็นแท่งแยงในช่องจมูกแล้วดึงออก  น้ำมูกจะซึมติดออกมา  หรือใช้ลูกยางดูดเอาน้ำมูกออก
ยาแก้ไอ อาการไอในโรคหวัดมักเกิดจากการระคายเคืองบริเวณคอหอยจากน้ำมูกที่ไหลลงไป  หรือมีเสมหะเหนียวติดที่ผนังคอหอย  ถ้าไอไม่มากไม่จำเป็นต้องกินยาแก้ไอ  แนะนำให้ดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อลดความเหนียวข้นของเสมหะและอาการระคายคอ  แต่ไม่ควรดื่มน้ำที่ร้อนเกินไป  แม้ว่าน้ำร้อนจะสามารถละลายเสมหะเหนียวที่ติดผนังคอหอยได้  แต่ก็จะทำให้เกิดการระคายคอมากขึ้น  ส่วนการดื่มน้ำที่เย็นจัดเกินไปทำให้เกิดอาการไอมากขึ้น
การใช้ลูกอมชนิดที่ไม่มียาต้านแบคทีเรียจะช่วยกระตุ้นให้น้ำลายออกมา  ทำให้ชุ่มคอ  เสมหะจะหลุดออกมาได้  แต่ลูกอมที่มีรสหวานมักทำให้คอแห้ง และแสบคอมากขึ้น  ส่วนยาอมที่มียาต้านแบคทีเรียอาจส่งเสริมให้เกิดเชื้อดื้อยาได้
ในกรณีที่ไอมากจนรบกวนการพักผ่อน  อาจจำเป็นต้องใช้ยาแก้ไอ  สูตรของยาแก้ไอมักจะประกอบด้วย  Antitussive  ร่วมกับ   Expectorant(ยาขับเสมหะ)  หรือ  Mucolytic (ยาละลายเสมหะ)
ยาลดไข้ ได้แก่  Paracetamol  และ Aspirin  ไ่ม่ควรใช้  Aspirin  ในเด็กที่ป่วยเป็นอีสุกอีใสและไข้หวัดใหญ่  เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอาการไรย์ (Reye’s  syndrome)  และในผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออก  เพราะจะทำให้อาการเลือดออกรุนแรงขึ้น
วิธีปฎิบัติตัวของผู้ป่วย   คือ  ให้ดื่มน้ำบ่อบ ๆ อยู่ในที่อุณหภูมิพอเหมาะ  ลดการใช้เสียง  พักผ่อนให้เพียงพอ  และการมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นส่วนสำคัญในการกำจัดเชื้อไวรัสของร่างกาย
การใช้ยาปฎิชีวนะไม่มีความจำเป็นในการรักษาไข้หวัด  เพราะเป็นยากำจัดเชื้อแบคทีเรีย  ไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสหวัดได้  แต่จะมีประโยชน์  กรณีที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเข้าไปภายหลัง  ซึ่งสังเกตได้จากน้ำมูกหรือเสมหะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียวตลอดทั้งวัน  ปวดหู  หูอื้อ ปวดหน่วงหัวคิ้ว   โหนกแก้มหรือรอบกระบอกตา  และเคาะเจ็บ  เป็นต้น  จึงค่อยใช้ยาปฎิชีวนะ
แต่ในความเป็นจริงแพทย์หรือเภสัชกรอาจจ่ายยาปฎิชีวนะแก่ผู้ป่วย  แม้ว่าผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการของการติดเชื้อแบคทีเรีย  เนื่องจากความกดดันจากผู้ป่วยหรือผู้ปกครองที่ต้องการยาแก้อักเสบ  เพราะเข้าใจว่าเมื่อมีอาการอักเสบของจมูก และคอก็ต้องกินยาแก้อักเสบรักษา  หรืออาจเข้าใจผิดว่าการกินยาปฎิชีวนะจะทำให้โรคหายเร็วขึ้น  หรือเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำเติม  ดังนั้นเพื่อช่วยลดการใช้ยาโดยไม่จำเป็น และป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาซึ่งกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร
วิธีรักษาไข้หวัด
ถ้าแน่ใจว่าเป็นไข้หวัดธรรมดา ไม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เราอาจใช้การรักษาตัวเอง ดังนี้
1. พักผ่อนให้มากขึ้น อย่าอาบน้ำเย็น ควรดื่มน้ำมากๆ (อาจเป็นน้ำเปล่า น้ำส้มคั้น น้ำผลไม้ ก็ได้)
2. ถ้าเบื่ออาหารให้กินน้ำหวาน น้ำผลไม้ น้ำข้าวต้ม ทีละน้อย แต่บ่อยๆ
3. กินยาลดไข้ เช่น แอสไพริน หรือพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด (เด็กใช้พาราเซตามอล ชนิดน้ำเชื่อมครั้งละ ครึ่ง-2 ช้อนชาตามอายุ) ถ้ายังมีไข้ให้กินซ้ำได้ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง
ถ้ามีอาการชวนสงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก อย่ากินยาแอสไพริน ควรใช้ยาพาราเซตามอล แทน
การรักษาเพียง 3 ข้อนี้ ก็เพียงพอสำหรับไข้หวัดและโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่นๆ และอาการไข้ควรจะลดลงภายใน 3-4 วัน ส่วนยาอื่นๆ ไม่ค่อยมีความจำเป็นในการรักษาไข้หวัด ยาอื่นๆ ได้แก่
4. ยาแก้หวัดแก้ไอ ถ้าเป็นไม่มาก ไม่ต้องกินก็ได้ ถ้าจะใช้ให้เลือกใช้ ดังนี้
ในเด็กเล็ก: ให้ยาแก้ไข้แก้หวัด ชนิดน้ำเชื่อม ในขวดเดียวมีตัวยาผสมกันทั้ง 2 อย่าง เช่น ยาแก้หวัดแก้ไอคลอริเอต ยาแก้หวัดแก้ไอไพร์ตอน เป็นต้น ให้กินครั้งละ ครึ่ง-1 ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง หลังอาหาร เมื่ออาการดีขึ้นก็หยุดได้ หรือถ้ากินแล้วกลับมีอาการไอมากขึ้นก็ควรงดเสีย เพราะยานี้อาจทำให้เสลดในคอเหนียว ขับออกยาก ทำให้ไอมากขึ้นได้
สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่: ให้กินยาแก้แพ้ได้แก่ คลอร์เฟนิรามีน ครั้งละ ครึ่ง-1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง และยาแก้ไอน้ำดำ จิบครั้งละ ครึ่ง-1 ช้อนชาเวลาไอ ถ้ากินแล้วกลับไอมากขึ้นควรงดเช่นเดียวกัน
5. ยาปฏิชีวนะ ไม่มีความจำเป็นในการรักษาไข้หวัดแต่อย่างไร เพราะไม่ได้กำจัดเชื้อหวัด (และไวรัสทุกชนิด) แต่อย่างไรก็ตาม ยานี้จะมีประโยชน์ต่อเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียเข้าไปแทรกซ้อนภายหลัง ซึ่งจะสังเกตได้จากน้ำมูกหรือเสมหะที่เคยใสจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว
ดังนั้นถ้าพบว่าเป็นหวัด น้ำมูกใส เสมหะขาวไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าน้ำมูกหรือเสมหะเหลืองหรือเขียวจึงค่อยให้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ เพนวี หรือ อีริโทรมัยซิน
วิธีใช้ให้ใช้แบบเดียวกับการรักษาต่อมทอนซิลอักเสบดังกล่าวข้างต้น
เมื่อได้รับการดูแลรักษาอย่างเต็มที่ อาการตัวร้อนควรจะหายเป็นปกติ ภายใน 3-4 วัน (อย่างมากไม่เกิน 7 วัน) แต่อาจมีน้ำมูกหรือไอต่อไปอีก 1-2 สัปดาห์ (บางคนอาจไอโครกเป็นเดือน) ถ้าอาการทั่วๆ ไปเป็นปกติดี กินได้น้ำหนักไม่ลด ก็ไม่ต้องตกใจ จะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง
อย่าลืมว่ายาแก้หวัดแก้ไอ อาจทำให้อาการไอเป็นมากขึ้น เพราะทำให้เสลดเหนียวขับออกยาก ดังนั้นถ้ายังไอมากควรงดยาเหล่านี้ แล้วหันไปดื่มน้ำอุ่นมากๆ อาจช่วยให้เสลดออกง่ายขึ้น และอาการไอจะค่อยหายไปได้เองโดยไม่ต้องใช้ยา
                ไข้หวัด (Common Cold)
ไข้หวัด เป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ พบได้ทุกเพศทุกวัยตลอดทั้งปี มักจะพบมากในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว หรือช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเชื้อไวรัสทำให้เกิดไข้หวัดมีมากกว200 ชนิด เชื้อเหล่านี้จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิดไข้หวัดขึ้น เพราะเมื่อคนเราติดเชื้อไวรัสไข้หวัดชนิดหนึ่งแล้ว จะไม่ติดตัวเดิมอีก เนื่องจากร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่อเชื้อตัวนี้ แต่จะเกิดการติดเชื้อไข้หวัดตัวใหม่ต่อๆไปได้บ่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่มีสุขภาพอ่อนแอมักจะป่วยเป็นไข้หวัดได้บ่อยๆ
ไข้หวัด คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ทางเดินหายใจส่วนบน (จมูกและคอ) ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต โรคนี้พบได้บ่อยมากในประเทศไทย ผู้ใหญ่จะป่วยเป็นโรคนี้ประมาณ 2-4 ครั้ง/ปี และเด็กจะป่วยเป็นโรคนี้มากถึง 6-10 ครั้ง/ปี
                สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีอยู่ มากกว่า  200 ชนิด พบในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย
การแพร่กระจายติดต่อของเชื้อหวัด
•              การติดต่อเกิดขึ้นได้ง่าย ในระหว่างผู้ใกล้ชิด ที่อยู่ในสถานที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่น โรงภาพยนตร์ รถโดยสาร และอาคาร บ้านเรือนที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ
•              ติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง จากการไอ จาม รดกัน
•              เชื้อไวรัสอาจอาจติดมากับมือของผู้ป่วย  หรือไวรัสติดมากับผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ จาน ชาม ของเล่น หนังสือ โทรศัพท์ ที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย
ระยะฟักตัว คือ ระยะตั้งแต่รับเชื้อแล้วจนกระทั่งแสดงอาการ โดยทั่วไปพบว่า                   ประมาณ 1–3 วัน
อาการป่วย
•              จาม น้ำมูกใสไหล คัดจมูก คอแห้ง หรือเจ็บคอเล็กน้อย ไอแห้งๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อย ลักษณะสีขาว เสียงแหบ อาการตามร่างกายทั่วๆ ไป เช่น ปวดศีรษะเล็กน้อย มีไข้เป็นพักๆ ครั่นเนื้อ ครั่นตัว อ่อนเพลีย
•              เด็กเล็กอาจมีอาการอาเจียน เวลาไอ
•              โดยทั่วไปอาการต่างๆ เหล่านี้จะเป็นอยู่นานประมาณหนึ่งสัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มรุนแรงจะมีอาการนานถึงสองสัปดาห์ได้
•              อาการแสดงต่างๆ เหล่านี้ บางครั้งคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่ต่างกันที่อาการของไข้ หวัดใหญ่จะมีอาการรุนแรงมากกว่า เช่น มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากกว่า หรือไออย่างรุนแรงกว่า









บทที่ 3
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
                ในการศึกษาค้นคว้าเรื่อง ตะไคร้แก้วัด ผู้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าได้ดำเนินดังขั้นตอนต่อไปนี้        
              1.กำหนดขอบเขตในการศึกษาค้นคว้า  ผู้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าได้กำหนดขอบเขตดังนี้                              1.1 ขอเขตด้านเนื้อหา  ได้แก่                                                                                                                    
  -    ประวัติความเป็นมาของตะไคร้                                                                                                 
-    ประโยชน์ของตะไคร้                                                                                                                                  -    อันตรายของโรคหวัด                                                                                                                                      
   -    วิธีป้องกันโรคหวัด                                                                                                                      
1.2 ขอบเขตด้านประชาชน  ได้แก่                                                                                                                              กลุ่มตัวอย่าง  ได้แก่ นักเรียนโรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคารชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 40 คน                 
   1.3 ขอบเขตด้านระยะเวลา                                                                                                                   
     ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557                                                                                                     
      2.วิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้เรื่องตะไคร้แก้หวัด เป็นแผ่นพับเพื่อเผยแพร่ให้กับกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดไว้                                                                                                                                                                                             3.นำหนังสือเล่มเล็กที่วิเคราะห์และสังเคราะห์ไว้ไปให้ครูที่ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาและโรงสร้าง  หลังจากนั้นนำเอาข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขแล้วพิมพ์เป็นฉบับจริงก่อนการเผยแพร่                                                                                                                                                                                                              4.ออกแบบสำรวจความคิดเห็นเรื่องตะไคร้แก้หวัด โดยออกแบบเป็นแบบประเมินค่าเป็น เห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย แล้วนำแบบสำรวจไปให้ปรึกษาตรวจสอบความถูกต้องด้านเนื้อหาและโครงสร้าง หลังจากนั้นนำเอาข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขพิมพ์เป็นฉบับจริงแล้วนำสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดิม                          5.สรุปผลการสำรวจความคิดเห็น



บทที่ 4
                                                                         สรุปผลศึกษาค้นคว้า
ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องตะไคร้แก้ไข้หวัด ผู้ศึกษาค้นคว้าได้กำหนดวัตถุประสงค์และสมมุติ ไว้ดังนี้                          วัตถุประสงค์
1.             เพื่อศึกษาประโยชน์ของตะไคร้                                                                                                                                                        
2.             เพื่อศึกษาว่าตะไคร้สามารถแก้โรคไข้หวัดได้จริงหรือไม่
3.             เพื่อศึกษาเกี่ยวกับอันตรายของโรคไข้หวัด
4.             เพื่อศึกษาวิธีป้องกันโรคไข้หวัด
สมมุติฐาน
ตะไคร้สามารถแก้โรคไข้หวัดได้จริงเพราะตะไคร้มีสาร วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส  ธาตุเหล็ก เพราะช่วยแก้โรคไขหวัดได้
สรุปผลกการศึกษาได้ดังนี้
1                 ประโยชน์ของตะไคร้มีดังนี้
1.1      ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากอาการแน่นจุกเสียดและท้องเสีย
1.2      ช่วยอาการแก้ปวดได้
1.3      ช่วยอาการขับลมได้
1.4      ช่วยแก้อาการจากการเป็นโรคไข้หวัดได้
2                 ตะไคร้สามารถใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรครุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อหัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูงและอาการแก้ไข้หวัดได้



3       อันตรายจากโรคไข้หวัด
3.1      การติดเชื้อไวรัสที่เกิดจากทางเดินหายใจ
3.2 ติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง จากอาการไอ จาม
3.2      เชื้อไวรัสอาจติดมากับมือของผู้ป่วย หรือไวรัสติดมากับผ้าเช็ดหน้าของผู้ป่วยหรือแก้วน้ำ ของเล่น  โทรศัพท์และเสมหะของผู้ป่วยได้
4การป้องกันจากโรคไข้หวัด
3.3 การรักษาไข่หวัดที่มีอาการแทรกซ้อน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา
3.4 ให้ดื่มน้ำบ่อยๆอยู่ในที่อุณหภูมิพอเหมาะ
3.5 ลดการใช้เสียงผักผ่อนให้เพียงพอ
3.6 ออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพที่แข็งแรงเป็นส่วนสำคัญในการกำจัดเซื้อไวรัสของร่างกาย
                                                         
           5.จาการสอบถามความคิดเห็นเรื่องตะไคร้แก้หวัดจากจำนวน   40 คน เป็นเพศชายที่มีอายุระหว่าง 16-17 ปี จำนวน 16 คน และเพศหญิงที่มีอายุ 16-17 ปี จำนวน 24 คน สรุปได้ดังนี้












คำชี้แจงให้เขียนเครื่องหมาย ถูกสิ่งที่เห็นด้วยและเขียนเครื่องหมาย ผิดกับสิ่งไม่เห็นด้วย ลงให้ช่องว่าง
สรุปแบบสอบถามเรื่อง ตะไคร้แก้โรคไข้หวัด
จะเห็นได้ว่า ผ้กรอกแบบสอบถามเห็นด้วยว่า ตะไคร้สามารถแก้โรคไข้หวัดได้จริงเพราะตะไคร้มีสาร วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส  ธาตุเหล็ก เพราะช่วยแก้โรคไขหวัดได้
สรุปผลการศึกษา  ว่าตะไคร้สามารถแก้โรคไข้หวัดได้จริงเพราะตะไคร้มีสาร วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม  ธาตุฟอสฟอรัส  ธาตุเหล็ก เพราะช่วยแก้โรคไขหวัดได้



ข้อที่
หัวข้อสอบถาม
ระดับความคิดเห็น
เห้นด้วย
ไม่เห็นด้วย
1
ตะไคร้แก้หวัดได้จริง
36
0
2
ตะไคร้มีฤทธิฆ่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุอาการแน่นจุกเสียด
35
1

และท้องเสียได้จริง


3
ตะไคร้สามารถต้านเชื้อราได้จริง
21
15
4
ตะไคร้สามารถแก้อาการปวได้จริง
24
12
5
ตะไคร้สามารถแก้อาการขับลมได้จริง
26
10







บทที่5
อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาค้นคว้าเรื่อง ตระไคร้ไข้แก้หวัดตะไคร้ เป็นสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยประโยชน์ของตะไคร้และสรรพคุณของตะไคร้นั้นมีมากมาย สรรพคุณตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและยังมีทั้งวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น
1.ตะไคร้ (Lemongrass) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cymbopogoncitratus (DC.)Stapfมีถิ่นกำเนิดใน ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย พม่า ศรีลังกา และไทย จัด เป็นพืชล้มลุก ใบเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม เป็นพืชตระกูลหญ้า และจัดเป็นสมุนไพรที่นิยมนำมาประกอบอาหาร ซึ่งตะไคร้แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ซึ่งได้แก่ ตะไคร้หอม ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค ตะไคร้กอ ตะไคร้ต้น ตะไคร้หางสิงห์ ต่างก็เป็นสมุนไพรไทยที่นิยมปลูกทั่วไปในบ้านเรา ตะไคร้ เป็นสมุนไพรเพื่อสุขภาพ โดยสรรพคุณของตะไคร้นั้นมีมากมาย สรรพคุณตะไคร้เป็นทั้งยารักษาโรคและนอกจากนี้มีทั้งวิตามินแร่ธาตุที่มีจำ เป็นต่อร่างกายมากอีกด้วย อย่างเช่น วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น
2.การวิจัย
ลำดับ
งานวิจัย
หน่วยงาน
1
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์
2
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์
3
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์
4
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์
5
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์
6
ศูนย์ประสานงานสารนิเทศสาขาเกษตรศาสตร์
7
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
8
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
9
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
10
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
11
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
12
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
13
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
14
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
15
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
16
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
17
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)


ข้อเสนอแนะในการศึกษาค้นคว้าครั้งต่อไป
1.ควรมีเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดให้กับกลุ่มคนที่มีความความเสี่ยงเรื่องโรคไข้หวัดและผู้ที่สนใจ
2.ควรใช้รูปแบบที่หลากหลายในการเผยแพร่เช่น การจัดนิทรรศการในโรงเรียน ชุมชนการสร้างเว็บเพจเรื่องตะไคร้แก้ไข้หวัดในอินเทอร์เน็ตและเฟสบุ๊ค เป็นต้น
3.รณรงค์ให้ผู้คนหันมาใส่ใจและป้องกันโรคความดันโลหิตสูง




บรรณารุกรม
http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/cymbopo.html
http://www.the-than.com/samonpai/sa_9.html
http://frynn.com/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89/
http://www.pidst.net/knowledge_detail.php?id=358
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94
























ภาคผนวก


















เรากำลังทำลาย หญ้า
  
นั้นมันไม่ใช่หญ้า แต่มันเป็นตะไคร้


เรากำลังสัมภาษณ์ ผู้รู้ นะครับ


  
กำลังทำส่วนผสม



นำตะไคร้มาประกอบอาหาร



สรุป ประวัติของตะไคร้ ประโยชน์





                                           วีดีทันศ์ เรื่อง ตะไคร้กับอาหารไทย



















1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ27 มกราคม 2565 เวลา 10:04

    Bet365 Baccarat & Bonus | Play online casino games
    You'll never know 바카라사이트 what Bet365 is. The world's biggest online casino has a kadangpintar vast งานออนไลน์ library of games including Slots, Blackjack, Roulette, Poker,

    ตอบลบ